ท่อร้อยสายไฟฟ้า รายละเอียดต่างๆ

ท่อร้อยสายไฟฟ้า (Electrical Conduit)

http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t01.png     http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t02.png    http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t03.png    http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t04.png    http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t05.png  

บริษัทเป็นผู้จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ท่อร้อยสายไฟฟ้าทุกขนาด ทั้งส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมและตามบ้านเรือนทั่วๆไป

อุปกรณ์ไฟฟ้า ท่อไฟ้ฟ้ามีด้วยกันหลายประเภทซึ่งสามารถจัดได้ตามหมวดหมู่ดังนี้

1. ท่อโลหะ (เหล็ก ซุบสังกะสี)

    1.1  ท่อโลหะขนาดบาง หรือ ท่ออีเอ็มที (EMT ; Electrical  Matallic tubing)

    1.2   ท่อโลหะขนาดกลาง หรือ ท่อไอเอ็มซี (IMC ; Intermediate Conduit)

    1.3   ท่อหนาพิเศษ หรือ ท่ออาร์เอสซี (RSC ; Rigid Steel Conduit)

    1.4   ท่อโลหะชนิดอ่อน (Flexible Metal Conduit)

    1.5  ท่อโลหะชนิดอ่อนกันน้ำ (Rainting Flexible Metal Conduit)

2. ท่อ อโลหะ

     2.1  ท่อพีวีซี (PVC) สีเหลือง (PolyVinyl Chloride)

     2.2  ท่อพีวีซี(PVC) สีเทา (PolyVinyl Chloride)

     2.3  ท่อ HDPE (High Density Polyetylene)

     2.4  ท่อ EFLEX

ท่อในงานไฟฟ้าและวัตถุประสงค์การใช้

การใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าในงานไฟฟ้ามีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับสายไฟ และให้เหมาะสมกับการเดินสายในแต่ละพื้นที่ ท่อที่นิยมใช้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ท่อโลหะและท่ออโลหะ ซึ่งประกอบด้วย

  • ท่อโลหะบาง( Electrical Metallic Tubing; EMT )
  • ท่อโลหะหนาปานกลาง ( Intermediate Metal Conduit; IMC )
  • ท่อโลหะหนา ( Rigid Steel Conduit; RSC )
  • ท่อโลหะอ่อน ( Flexible Metal Conduit )
  • ท่อ PVC ( Poly Vinyl Chloride )
  • ท่อ HDPE ( High Density PolyEthylene
  • พื้นที่ภาคตัดขวางภายในของท่อร้อยสาย
  • จำนวนสายสูงสุดในท่อร้อยสาย

 

ท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing) เป็นท่อร้ายสายไฟฟ้าที่

ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดร้อนหรือรีดเย็น หรือแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ผิวภายในเคลือบด้วยอีนาเมล ทำให้ผิวท่อเรียบทั้งภายใน และภายนอกท่อ และมีความมันวาว ปลายท่อเรียบทั้ง 2 ด้านไม่สามารถทำเกลียวได้ มาตรฐานกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีเขียวระบุชนิด และขนาดของท่อ เรียกกันทั่วไปว่าท่อ EMT ปัจจุบันมีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 2″ และยาวท่อนละ 10 ฟุตหรือประมาณ 3 เมตร

 

ท่อ EMT ใช้เดินลอยในอากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ แต่ห้ามฝังดิน หรือฝังในพื้นคอนกรีต ในสถานที่อันตราย ระบบแรงสูง หรือบริเวณ ที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2″ , 3/4″ , 1″ , 1 1/4″ , 1 1/2″ , 2″ การดัดท่อชนิดนี้ใช้ bender ที่มีขนาดเท่ากับขนาดท่อ สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป (Elbow) ที่วางขายทั่วไปได้เช่น ข้อโค้ง 90 องศา



 ตัวอย่างข้อมูลท่อ EMT แสดงดังตาราง ( ของ White Conduit )

http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t06.png

 

ท่อโลหะหนาปานกลาง (Intermediate Metal Conduit)เป็นท่อร้อยสายไฟฟ้า

ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดร้อนหรือรีดเย็น หรือแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ผิวภายในเคลือบด้วยอีนาเมล ทำให้ผิวท่อเรียบทั้งภายใน และภายนอกท่อ และมีความมันวาว มีความหนากว่าท่อ EMT ปลายท่อทำเกลียวไว้ทั้ง 2 ด้าน มาตรฐานกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีส้ม (บางครั้งอาจเห็นเป็นสีแดง) ระบุชนิดและขนาดของท่อ เรียกกันทั่วไปว่าท่อ IMC มีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 4″ และยาวท่อนละ 10 ฟุต หรือประมาณ 3 เมตร

 

ท่อ IMC ใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง-พื้นคอนกรีตได้ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2″ , 3/4″ , 1″ , 1 1/4″ , 1 1/2″ , 2″ , 2 1/2″ , 3″ , 3 1/2″ และ 4″ การดัดท่อชนิดนี้ใช้ hickey ที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป ที่วางขายทั่วไปได้เช่น ข้อโค้ง 90 องศา



 ตัวอย่างข้อมูลท่อ IMC แสดงดังตาราง ( ของ  White Conduit  )

http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t07.png

 

ท่อโลหะหนา (Rigid Steel Conduit)เป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าที่

ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดร้อนหรือรีดเย็น หรือแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีทั้งผิวภายนอกและภายใน ทำให้ผิวท่อเรียบทั้งภายใน และภายนอกท่อ แต่ผิวจะด้านกว่าและหนากว่าท่อ EMT และ IMC ปลายท่อทำเกลียวไว้ทั้ง 2 ด้าน มาตรฐานกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีดำ ระบุชนิดและขนาดของท่อ เรียกกันทั่วไปว่าท่อ RSC มีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 6″ และยาวท่อนละ 10 ฟุตหรือประมาณ 3 เมตร

 

ท่อ RSC ใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง-พื้นคอนกรีตได้ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2″ , 3/4″ , 1″ , 1 1/4″ , 1 1/2″ , 2″ , 2 1/2″ , 3″ , 3 1/2″, 4″ ,5″ และ 6″ การดัดท่อชนิดนี้ใช้ hickey หรือเครื่องดัดท่อไฮดรอลิกที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูปคล้ายกับข้อโค้งสำเร็จรูปของท่อ IMC ที่วางขายทั่วไปได้เช่น ข้อโค้ง 90 องศา เป็นต้น ตัวอย่างข้อมูลท่อ RSC แสดงดังตาราง ( ของ White Conduit )

http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t08.png

 

ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit) เป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าที่

ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีทั้งผิวภายนอกและภายใน เป็นท่อที่มีความอ่อนตัว โค้งงอไปมาได้ เหมาะสำหรับต่อเข้ากับดวงโคม มอเตอร์หรือเครื่องจักรกลที่มีการสั่นสะเทือน มีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 4″ ลักษณะของท่อแสดงดังรูป

                http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t09.png ท่อโลหะอ่อน ใช้เดินในสถานที่แห้งและเข้าถึงได้ ห้ามใช้เดินในสถานที่เปียก , ในช่องขึ้นลง , ในห้องเก็บแบตเตอรี่ , ในสถานที่อันตราย , ฝังดินหรือฝังในคอนกรีต ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2″ , 3/4″ , 1″ , 1 1/4″ , 1 1/2″ , 2″ , 2 1/2″ ,3″ และ 4″ ท่อโลหะอ่อนที่ใช้ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 1/2″ ยกเว้นท่อโลหะอ่อนที่ประกอบมากับขั้วหลอดไฟฟ้า และมีความยาวไม่เกิน 180 เซนติเมตร การจับยึดท่อชนิดนี้ต้องมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ไม่เกิน 1.50 เมตร และห่างจากกล่องต่อสาย ไม่เกิน 30 เซนติเมตร และห้ามใช้ท่อโลหะอ่อนเป็นตัวนำ แทนสายดิน
 

   http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t10.png      ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ เป็นท่อโลหะอ่อนที่มีเปลือก PVC หุ้มด้านนอกเพื่อกันความชื้น ไม่ให้เข้าไปภายในท่อได้ ใช้งานในบริเวณที่ต้องการความอ่อนตัวของท่อเพื่อป้องกันสายไฟฟ้า ชำรุด จากไอของเหลวหรือของแข็งหรือในที่อันตราย ห้ามใช้ในบริเวณที่อุณหภูมิใช้งานของ สายไฟฟ้าสูงมากจนทำให้ท่อเสียหายมีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 4″ การตัดท่อชนิดนี้ใช้เลื่อยตัดเหล็ก ทั่วไปตัดตรงๆ โครงสร้างภายในและข้อมูลของท่อโลหะอ่อนกันน้ำแสดงดังรูปข้างล่าง

http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t11.png

Nominal size

Inner diameter

Outside diameter

Vinyl Sheath Thickness

Min Bending Radius

Length of Each Roll

min.

max.

min.

max.

mm

mm

mm

mm

mm

mm

m

3/8″

12.29

12.80

17.5

18.0

0.76

61

60.0

1/2″

15.80

16.31

20.8

21.3

0.76

83

60.0

3/4″

20.83

21.34

26.2

26.7

0.89

108

30.0

1″

26.44

27.08

32.8

33.4

0.89

165

30.0

1 1/4″

35.05

35.81

41.4

42.2

0.89

203

15.0

1 1/2″

40.10

40.64

47.4

48.3

1.02

229

15.0

2″

51.31

51.94

59.4

60.3

1.02

283

15.0

2 1/2″

62.99

63.63

72.1

73.0

1.27

375

7.5

3″

77.98

78.74

87.9

88.9

1.27

445

7.5

4″

101.60

102.62

113.3

114.3

1.52

609

7.5

 

ท่อพีวีซี (PolyVinyl Chloride) เป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ใช้เดินสายไฟฟ้าทั่วไป

ทำด้วยพลาสติกพีวีซี ที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ แต่ข้อเสียคือขณะที่ถูกไฟไหม้จะมีก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อคนเราออกมาด้วย และไม่ทนต่อแสงอัลตร้าไวโอเล็ตทำให้ท่อกรอบเมื่อโดนแดดเป็นเวลานาน ที่ใช้ในงานไฟฟ้ามีสีเหลือง มีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 4″ และยาวท่อนละ 4 เมตร ดังรูป

 

ท่อ PVC ใช้เดินลอยในอากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ แต่ห้ามใช้ใน บริเวณที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาด คือ 3/8″ , 1/2″ , 3/4″ , 1″ , 1 1/4″ , 1 1/2″ , 2″ , 2 1/2″ , 3″ และ 4″ สำหรับท่อ ขนาด 3″ และ 4″ มีความยาว 2 ขนาดคือ 4 และ 6 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท

                                                      http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t12.png

 

ท่อHDPEี (High Density Polyethylene)เป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าที่

ทำด้วยพลาสติก polyethylene ชนิด high density ที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ มีความแข็งแรงสูง ยืดหยุ่นตัวได้ดี มีทั้งแบบผิวเรียบ และแบบลูกฟูก ใช้เดินสายบนผิวในที่โล่ง, บนฝ้าในอาคาร, เดินสายใต้ดินทั้งแรงดันต่ำและ แรงดันสูงปานกลาง ทนต่อแรงกดอัดได้ดี ข้อได้เปรียบของท่อชนิดนี้ คือความอ่อนตัวจึงไม่ต้องดัดท่อทำให้เดินท่อได้สะดวกรวดเร็ว ขนาดของท่อ มีตั้งแต่ 1/2″ ขึ้นไป

http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t13.png
 ท่อ HDPE แบบผิวเรียบ

http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t14.png
 ท่อ HDPE แบบลูกฟูก

ข้อดีของท่อร้อยสายไฟฟ้า HDPE ปัจจุบันนิยมใช้ท่อ HDPE แบบลูกฟูกกันมากเนื่องจากมีข้อดีหลายประการคือ

  • ง่ายต่อการโค้งงอ
  • มีความยาวต่อเนื่องมากระหว่าง 30 – 300 เมตร ทำให้ลดข้อต่อต่างๆ ลงไปได้มาก
  • แข็งแกร่งและน้ำหนักเบา
  • ต้านทานต่อการผุกร่อนและทนทุกสภาพดินฟ้าอากาศ
  • ยืดหยุ่นและทนต่อแรงกดทับได้ดี
  • มีแรงเสียดทานภายในท่อต่ำ จึงร้อยสายในท่อได้ง่ายขึ้น ทำให้กำหนดระยะห่างของบ่อพักสาย (hand hole) ได้ไกลขึ้นกว่าเดิม

ท่อ HDPE แบบลูกฟูกอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ท่อ EFLEX (ข้อมูลจากบริษัทบางกอกเทเลคอม จำกัด) ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ในผลิตภัณฑ์ ประเภทท่อลูกฟูก การนำท่อชนิดนี้ไปใช้งานต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพงานนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีท่อลูกฟูกแบบอ่อนตัว เรียกว่าท่อ PFLEX ซึ่งมีหลายชนิดทั้งใช้ฝังในคอนกรีต และชนิดผสมสารกันไฟเพื่อใช้ในที่โล่งและวางบนฝ้าเพดาน ดังรูป

http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t15.png http://skwire-salesandservices.com/skwire/wp-content/uploads/img/conduit/t16.png

ข้อมูลท่อร้อยสายไฟฟ้า EFLEX ที่ควรทราบได้แก่…

  • ตารางท่อ EFLEX

ขนาดท่อ (ประมาณ)

เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกท่อ
 ( มม.) โดยประมาณ

เส้นผ่าศูนย์กลางภายในท่อ
 ( มม.) โดยประมาณ

น้ำหนัก (กก./ม)

ความยาวต่อขด
 (เมตร)

นิ้ว

มม.

1

30

40

30

0.23

300

2

50

64

50

0.36

200

3

80

102

80

0.80

100

4

100

130

100

1.10

100

5

125

160

125

1.60

100

6

150

188

150

2.30

50

8

200

250

200

3.60

30